เครนสนามขาสูง 2 ข้าง (Gantry Cranes)

Last updated: 25 พ.ย. 2566  |  419 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รูปเครนสนาม

   เครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานเดี่ยว มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ซึ่งมีความจำเป็นต้องติดตั้งเครนสนามขาสูง 2 ข้าง วางบนพื้นโรงงาน และลักษณะเช่นเดี่ยวกับเครนเหนือศีรษะแบบคานเดี่ยวที่มีความเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักไม่หนักมาก ควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6 -20 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 0.1 ตัน – 12.5 ตัน เป็นมาตรฐาน ซึ่งใช้งานร่วมกับ รอกโซ่ไฟฟ้าคุณภาพสูง สำหรับเครนแบบคานเดี่ยวที่ออกแบบและผลิตเป็นมาตรฐานรุ่นต่างๆไว้แล้ว สำหรับใช้งานแขวนประกอบกับเครนชนิดนี้โดยมีความเหมาะสมและปลอดภัย ซึ่งเครนสนามขาสูง 2 ข้าง ถือเป็นเครนไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมใช้กันไม่มากนักในการนำมาใช้ติดตั้งภายในตัวอาคารโรงงาน เพราะจะไม่สะดวกมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเครนเหนือศีรษะที่วิ่งอยู่บนรางวิ่งด้านบนหูช้างที่เชื่อมติดกับเสาโรงงาน เนื่องจากมีชุดขาเครนวิ่งที่วางอยู่บนพื้นที่ด้านล่างจะทำให้เสียพื้นที่ในการใช้งานทั้ง 2 ด้านของโรงงาน ตลอดความยาวของอาคารโรงงานไปทั้งหมดแต่ดังที่กล่าวไว้ด้านบนคือ เหมาะกับเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาสำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาที่แข็งแรงไว้รองรับน้ำหนักเครนเหนือศีรษะ และรางวิ่งเครนด้านบน หรือเหมาะกับงานที่ต้องการใช้ยกวัตถุหรือสินค้ากลางแจ้งที่ไม่ต้องการสร้างโครงสร้างโรงงาน แต่ผู้ติดตั้งเครนก็จะต้องเตรียมงานฐานรากและคานใต้ดินไว้อย่างแข็งแรง เพื่อรองรับรางวิ่งเครนเช่นกัน เพราะเครนสนามขาสูงมีน้ำหนักกดลงบนรางมาก และต้องวิ่งบนรางวิ่งที่มีระดับเท่ากัน และแนวตรงตลอดทาง ซึ่งถ้าฐานรากใต้รางวิ่งไม่แข็งแรงพอก็ทำให้รางเครนทรุดตัว และชุดโครงสร้างเครนอาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้ สิ่งสำคัญเครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานเดี่ยวไม่ควรทำขนาดความกว้างของชุดคานเครนเกินกว่า 20 เมตร และน้ำหนักยกเกินกว่า 12.5 ตัน หรือใช้ความเร็ววิ่งตามแนวยาวเกินกว่า 25 เมตร/นาที เพราะเนื่องจากเป็นเครนแบบคานเดี่ยว และตัวเครนยกขาสูง 2 ข้าง ถ้าออกแบบเครนกว้างเกินไป โดยใช้ยกน้ำหนักที่มากหรือเคลื่อนที่เร็วเกินไป เมื่อเกิดความฝืดของล้อกับพื้นผิวรางวิ่งหรือระดับรางทั้ง 2 ด้านไม่เท่ากัน ทำให้ขาเครนทั้ง 2 ด้านออกตัวไม่เท่ากัน ถ้าออกแบบโครงสร้างคานเครนไม่แข็งแรงนัก จะเกิดปัญหากับชุดคานเครนดัดตัวบิดโค้งงอตัวได้ หรือทำให้โครงสร้างชุดเครนล้มลงเป็นอันตรายได้
ถือเป็นเครนไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมใช้กันไม่มากนักในการนำมาใช้ติดตั้งภายในตัวอาคารโรงงาน เพราะจะไม่สะดวกมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเครนเหนือศีรษะที่วิ่งอยู่บนรางวิ่งด้านบนหูช้างที่เชื่อมติดกับเสาโรงงาน เนื่องจากมีชุดขาเครนวิ่งที่วางอยู่บนพื้นที่ด้านล่างจะทำให้เสียพื้นที่ในการใช้งานทั้ง 2 ด้านของโรงงาน ตลอดความยาวของอาคารโรงงานไปทั้งหมดแต่ดังที่กล่าวไว้ด้านบนคือ เหมาะกับเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาสำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาที่แข็งแรงไว้รองรับน้ำหนักเครนเหนือศีรษะ และรางวิ่งเครนด้านบน หรือเหมาะกับงานที่ต้องการใช้ยกวัตถุหรือสินค้ากลางแจ้งที่ไม่ต้องการสร้างโครงสร้างโรงงาน แต่ผู้ติดตั้งเครนก็จะต้องเตรียมงานฐานรากและคานใต้ดินไว้อย่างแข็งแรง เพื่อรองรับรางวิ่งเครนเช่นกัน เพราะเครนสนามขาสูงมีน้ำหนักกดลงบนรางมาก และต้องวิ่งบนรางวิ่งที่มีระดับเท่ากัน และแนวตรงตลอดทาง ซึ่งถ้าฐานรากใต้รางวิ่งไม่แข็งแรงพอก็ทำให้รางเครนทรุดตัว และชุดโครงสร้างเครนอาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้
สิ่งสำคัญเครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานเดี่ยวไม่ควรทำขนาดความกว้างของชุดคานเครนเกินกว่า 20 เมตร และน้ำหนักยกเกินกว่า 12.5 ตัน หรือใช้ความเร็ววิ่งตามแนวยาวเกินกว่า 25 เมตร/นาที เพราะเนื่องจากเป็นเครนแบบคานเดี่ยว และตัวเครนยกขาสูง 2 ข้าง ถ้าออกแบบเครนกว้างเกินไป โดยใช้ยกน้ำหนักที่มากหรือเคลื่อนที่เร็วเกินไป เมื่อเกิดความฝืดของล้อกับพื้นผิวรางวิ่งหรือระดับรางทั้ง 2 ด้านไม่เท่ากัน ทำให้ขาเครนทั้ง 2 ด้านออกตัวไม่เท่ากัน ถ้าออกแบบโครงสร้างคานเครนไม่แข็งแรงนัก จะเกิดปัญหากับชุดคานเครนดัดตัวบิดโค้งงอตัวได้ หรือทำให้โครงสร้างชุดเครนล้มลงเป็นอันตรายได้
2.เครนสนามขาสูง 2 ข้าง : แบบคานคู่ (GANTRY CRANE : DOULE GIRDER)

เครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานคู่ มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ทุกประการเช่นเดียวกับเครนสนามขาสูง 2 ข้างแบบคานเดี่ยว และลักษณะเช่นเดียวกับเครนเหนือศีรษะแบบคานคู่ที่มีความเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักที่หนักมาก ควรที่มีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10 – 30 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 5 ตัน ถึง 50 ตัน เป็นมาตรฐาน ซึ่งจะใช้งานร่วมกับ รอกโซ่ไฟฟ้าคุณภาพ สำหรับเครนแบบคานคู่ที่ออกแบบผลิตเป็นมาตรฐานรุ่นต่างๆ ไว้แล้ว สำหรับใช้วางบนเครนแบบคานคู่ โดยมีความเหมาะสมและปลอดภัย ซึ่งเครนสนามขาสูง 2 ข้างแบบคานคู่ ถือเป็นเครนไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมใช้ไม่ค่อยมากเช่นกัน เพราะเหตุผลเช่นเดียวกันเครนสนามขาสูงแบบคานเดี่ยว และอีกประการประเทศไทยสภาวะอากาศร้อน
และฝนตกบ่อย จึงไม่ค่อยมีคนงานยอมทำงานกลางแจ้งในกรณีที่ต้องการติดตั้งเครนไว้นอกอาคาร แต่เครนชนิดนี้ก็มีความจำเป็นกับงานอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น งานเทหล่อแบบชิ้นงานหรือเทเสาคอนกรีตที่ต้องการความร้อนของแสงแดดช่วยทำงาน  งานประกอบโครงสร้างขนาดใหญ่ หรืองานที่ต้องการเก็บวัตถุดิบที่มีน้ำหนัก หรือประเภทตู้คอนเทรนเนอร์สินค้าจำนวนมาก ที่สินค้าไม่มีปัญหาต้องเป็นกังวลเรื่องน้ำฝน ฝุ่น และความร้อน และที่สำคัญในการใช้เครนสนามขาสูงติดตั้งนอกอาคาร คือความประหยัดเงินจำนวนมาก ที่ไม่ต้องลงทุนสร้างตัวอาคารโรงงานขึ้นมาปกคลุมสินค้าอีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้