เครน สนามขาสูง 1 ข้าง SEMI CRANE

Last updated: 25 พ.ย. 2566  |  456 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เซมิเครน

เครน สนามขาสูง 1 ข้าง SEMI CRANE
เครน Crane สนามขาสูง 1 ข้าง เป็นเครนโครงสร้างแบบ A เฟรม มีขาด้านหนึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ตามร่องรางที่ติดตั้งไว้บนพื้น ส่วนด้านปลายของคานที่รับน้ำหนักจะถูกติดตั้งไว้ที่ ผนัง เสา คาน ของอาคารและมีร่องรางให้ตัวเครนสามารถเคลื่อนที่ไปพร้อมกันกับขาของเครนอีกข้างได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการลดต้นในการสร้างเครนลงได้ อีกทั้งยังจะช่วยให้ประหยัดพื้นที่ของโรงงานได้อีกด้วย
ซึ่งเครนสนามขาสูงยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.เครนสนามขาสูง 1 ข้าง : แบบคานเดี่ยว (SEMI GANTRY CRANES : SINGLE GIRDER)

เครนสนามขาสูง 1 ข้างแบบคานเดี่ยว มีความเหมาะสมใช้บนพื้นที่กลางแจ้ง โดยติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสา ด้านข้าง – นอกตัวอาคารโรงงานหรือใช้ติดตั้งในร่มโดยติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสาด้านข้าง – ในตัวอาคารโรงงาน หรือผู้ใช้งานสามารถออกแบบเครนในโรงงานเป็น  2 ระดับได้อีกด้วย  โดยใช้ติดตั้งใต้ชุดเครนเหนือศีรษะ เพื่อทำงานเฉพาะกับเครื่องจักรหรือใช้งานกับพื้นที่ในอาคารโรงงานงานด้านใดด้านหนึ่ง หรือติดตั้งไว้ทั้ง 2 ฝั่งของตัวอาคารโรงงานเดียวกันก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญในกรณีที่ติดตั้งเครนสนามขาสูงข้างเดียว ในตัวอาคารโรงงานเดียวกันทั้ง 2 ฝั่งของเสาอาคาร ใต้ชุดเครนเหนือศีรษะด้านบน ผู้ออกแบบจำเป็นต้องเว้นช่องระหว่างกลางของเครนสนามขาสูงข้างเดียวที่ติดตั้งไว้ทั้ง 2 ฝั่งให้กว้างพอประมาณ  เพื่อให้ชุดลวดสลิงและตะขอของเครนเหนือศีรษะด้านบนสามารถยกวัตถุหรือสินค้าผ่านได้อย่างสะดวกและปลอดภัยด้วย เพราะปัญหาที่สำคัญของการติดตั้งใช้งานเครน 2 ระดับในตัวอาคารเดียวกันคือชุดลวดสลิงและตะขอของชุดเครนเหนือศีรษะด้านบนมักจะเกี่ยวหรือชนกับชุดเครนสนามขาสูงที่วิ่งใช้งานอยู่ด้านล่าง  เพราะความประมาทและไม่ระมัดระวังของผู้ใช้งานเอง ทำให้เกิดอุบัติเหตุและความเสียหายได้ง่าย เนื่องจากการออกแบบเครนจะไม่สะดวกที่จะติดตั้งชุดเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุอัตโนมัติไว้ตลอดแนวความยาวของคานเครนด้านล่างเพื่อป้องกันการชนกับชุดลวดสลิงและตะขอของเครนเหนือศีรษะด้านบน หรือยากที่จะติดตั้งชุดเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุอัตโนมัติไว้ที่ชุดลวดสลิงและตะขอของเครนเหนือศีรษะด้านบน  เพื่อป้องกันการเกี่ยวชนกันเครนสนามขาสูงด้านล่าง  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังด้วยสายตาการมองของผู้กดบังคับเครนทั้ง 2 ระดับเองเท่านั้น

ดั้งที่กล่าวมาในความสะดวกของการออกแบบติดตั้งเครนแบบ 2 ระดับ เพื่อให้ชุดเครนทั้ง 2 ระดับสามารถวิ่งใช้งานสวนชุดเครนวิ่งทางกันได้เพื่อความสะดวก และประหยัดเวลาพร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแต่ก็แฝงไว้ด้วยปัญหาอันตรายและอุบัติเหตุที่ต้องคอยใช้งานอย่างระมัดระวังด้วย

เครนสนามขาสูง 1 ข้าง : แบบคานคู่ (SEMI GANTRY CRANES : DOULE GIRDER)

เครนสนามขาสูง 1 ข้าง แบบคานคู่ มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง  และในร่มภายในตัวอาคารโรงงานมีคุณสมบัติทุกประการเช่นเดียวกันกับเครนสนามขาสูงข้างเดียวแบบคานเดี่ยว และกรณีที่ต้องการออกแบบเป็นแบบคานคู่ เพราะผู้ใช้งานต้องการประสิทธิภาพภาพในการยกวัตถุ และสินค้าที่หนักกว่า  และพื้นที่ใช้งานในพื้นที่ที่กว้างกว่า  ดังเช่นที่กล่าวมาแล้วของลักษณะของเครนแบบคานเดี่ยวและแบบคานคู่  แต่มีข้อแตกต่างในการออกแบบใช้งานบางประการกับเครนสนามขาสูง 2 ข้าง คือ เครนสนามขาสูงข้างเดียวไม่ควรออกแบบให้มีเท้าแขน (Cantilever) ยื่นออกมาด้านนอกเหมือนกับเครนสนามขาสูง 2 ข้าง เพราะเครนสนามขาสูงข้างเดียว เมื่อมีเท้าแขนยื่นออกมาด้านข้างถ้าออกแบบได้ไม่ดีเมื่อรอกไฟฟ้ายกน้ำหนักเคลื่อนออกมาสามารถถ่วงให้ชุดขาเครนวิ่งด้านบนยกกระดกลอยออกจากรางวิ่งและล้มคว่ำด้านข้างลงมาได้  และผู้ออกแบบก็มักไม่นิยมออกแบบตัวล็อกป้องกันการยกกระดกไว้ที่ฝั่งรางวิ่งด้านบนนั้นด้วย โดยถือเป็นความเสี่ยงที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานโดยตรง

สิ่งที่สำคัญสำหรับการออกแบบเครนสนามขาสูงทุกประเภท ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงทำได้ สัดส่วนความสูงต่อความกว้าง ต้องไม่น้อยกว่า  3 : 5  เพราะการออกแบบชุดคานที่ยาวกว่าความสูงของชุดขาเครน  จะช่วยให้เกิดน้ำหนักถ่วงดุลอีกด้านมากขึ้น  ทำให้เครนกระดกตัวพลิกล้มได้ยากกว่า  และสำหรับองศาความลาดชันจากกึ่งกลางขาเครนรับชุดคานเครนด้านบนวัดจากเส้นตั้งฉากจากระดับด้านบนขยายกว้างออกมาตามเส้นลาดชันของขาเครนถึงเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อเครนด้านล่าง ก็ไม่ควรน้อยกว่า 10 องศา ซึ่งจะทำชุดเครนสนามขาสูงมีขาหยั่งที่กว้างพอประมาณ  ทรงตัวไม่ล้มได้ง่าย  และอีกประการที่สำคัญคือ การออกแบบเครนสนามขาสูงทุกประเภท ต้องคิดคำถึงระดับพื้นที่รางวิ่งทั้ง 2 ฝั่ง ที่ระดับรางอาจมีการทรุดตัวได้ จึงจำเป็นต้องออกแบบขาเครนด้านใดด้านหนึ่งให้มีจุดหมุน (Flexible Leg) เพื่อให้เกิดการยืดหยุ่นตัวได้  แต่ถ้ามีความมั่นใจแน่นอนสำหรับระดับรางเครนทั้ง 2 ด้านว่าทำฐานรากไว้มั่นคงแข็งแรง ซึ่งจะไม่มีการทรุดตัวได้ในอนาคต ก็สามารถออกแบบให้เป็นขายึดแน่นทั้ง 2 ด้าน (Fix Leg) ได้เช่นเดียวกัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้